ผลไม้ไหว้ตรุษจีน

9 ก.พ. ผลไม้ไหว้ตรุษจีน 2567 ควรจัดโต๊ะอย่างไร ไหว้เวลาไหน ใช้ธูปกี่ดอก

ผลไม้ไหว้ตรุษจีน 2567 ปีนี้ตรงกับ วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ วันนี้ถือเป็นวันสิ้นปี ที่คนจีน และคนไทยเชื้อสายจีนจะจัดพิธีไหว้ขอพรเทพเจ้าและบรรพบุรุษ

อ่าน : เปิด 8 เมนูอาหารมงคล ต้องกินใน “วันตรุษจีน”

ตรุษจีน 2567 ตรงกับวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจีน เป็นวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ หรือ วันตรุษจีน โดยในช่วงเทศกาลตรุษจีนของไทยจะมีสิ่งที่ปฏิบัติกัน คือ วันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว โดย “วันไหว้” ซึ่งถือเป็นวันสิ้นปีเก่า ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 9 ก.พ. มีการทำพิธิอะไรบ้าง การจัดโต๊ะ – ของไหว้ตรุษจีน ที่ต้องมี 

อ่าน : เฮงรับปีมะโรง เปิดประวัติ “ตรุษจีน” ปี 2567 ความสำคัญ – พิธีไหว้

ช่วงเวลา – ขั้นตอนการไหว้ “ตรุษจีน 2567”

วันตรุษจีน ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย โดยมีกิจกรรมการตั้งโต๊ะสักการะบรรพบุรุษ และเทพเจ้า โดยสามารถแยกการตั้งโต๊ะไหว้ตรุษจีน 2567 เป็น 4 ช่วง ดังนี้

เริ่มจากช่วงเช้า เวลา 06.00 – 07.00 น. จะทำการไหว้เทพยาดา ฟ้า ดิน และไหว้เจ้าที่เจ้าทาง คือ “ตี่จู๋เอี๊ยะ” และเทพเจ้าที่ชาวจีนนับถือ โดยตั้งโต๊ะไหว้เตรียมของไหว้ ซาแซ เช่น เป็ด หมู ไก่

เวลา 10.00-11.00 น. “ไหว้บรรพบุรุษ” จะไหว้บรรพบุรุษด้วยเนื้อสัตว์ กับข้าว ขนมหวาน ผลไม้ เครื่องดื่ม รวมถึงการเผากระดาษเงิน กระดาษทอง และเสื้อกระดาษกงเต๊กให้กับบรรพบุรุษ

หลังจากไหว้บรรพบุรุษเสร็จแล้ว เมื่อธูปดับจนหมด ก็จะเริ่มนำของไหว้มาทานร่วมกันทั้งครอบครัว

ผลไม้ไหว้ตรุษจีน

ต่อมาก็ไหว้ผีไม่มีญาติ หรือเรียกว่า “ฮอเตียตี้” ในเวลา 14.00 – 16.00 น. จะไหว้ด้วยข้าวสวย กับข้าว และขนมหวาน เช่น ขนมเข่ง ขนมเทียน และกระดาษเงินกระดาษทอง เมื่อไหว้เสร็จแล้วให้จุดประทัด เพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไป ซึ่งการไหว้ผีไม่มีญาติบางบ้านก็ไหว้เป็นปกติทุกปี บางบ้านก็ไม่นิยมไหว้

ช่วงสุดท้ายของพิธีไหว้ คือ การไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภ เวลา 23.00 – 01.00 น. ของคืนวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อเป็นการขอโชคลาภจาก “เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย” ที่ลงมา ซึ่งเกิดขึ้นปีละครั้ง 

และของไหว้ควรมี น้ำชา 5 ถ้วย ขนมอี๊ (สาคูแดงต้มสุก) 5 ถ้วย ผลไม้มงคล 5 อย่าง เจไฉ่ (อาหารเจ) 5 ชนิด ขนมจันอับ 1 จาน และกระดาษเงินกระดาษทอง

อ่าน : รู้ไหม? ตรุษจีนไม่ได้ฉลองแค่ “วันจ่าย-ไหว้-เที่ยว”

ผลไม้ไหว้ตรุษจีน

การจัดโต๊ะ – ของไหว้ตรุษจีน

การจัดโต๊ะไหว้ตรุษจีน

การจัดโต๊ะไหว้ตรุษจีน แต่ละบ้านอาจจะจัดวางไม่เหมือนกัน โดยอาจจัดวาง ดังนี้ 

จุดที่ 1 : วางโต๊ะไหว้ไว้ด้านหน้าเทวรูปหรือแท่นบูชา

จุดที่ 2 : วางกระถางธูปไว้หน้าเทวรูปหรือแท่นบูชา

จุดที่ 3 : วางเชิงเทียนและแจกันดอกไม้ ขนาบทั้งข้างซ้ายและขวาของกระถางธูป

จุดที่ 4 : วางชามข้าวสวยพร้อมช้อนและตะเกียบ

จุดที่ 5 : วางถ้วยน้ำชาหรือถ้วยเหล้าจีน

จุดที่ 6 : วางถ้วยน้ำดื่ม

จุดที่ 7 : วางเนื้อสัตว์และเมนูอาหาร

จุดที่ 8 : วางขนมหวาน ขนมมงคล และผลไม้

จุดที่ 9 : วางเครื่องไหว้อื่น ๆ พวกกระดาษเงิน, กระดาษทอง, เสื้อผ้ากระดาษกงเต็ก, ใบเบิกทางบรรพบุรุษให้มารับของไหว้ (อ่วงแซจี๊) และแบงก์กงเต็ก (อิมกังจัวยี่)

จัดโต๊ะไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย

จุดที่ 1 : รูปภาพ/รูปปั้นองค์ไฉ่ซิงเอี้ย

จุดที่ 2 : เชิงเทียนและแจกันดอกไม้ อย่างละ 1 คู่

จุดที่ 3 : กระถางธูป 1 ใบ

จุดที่ 4 : ถ้วยน้ำชา 5 ถ้วย

จุดที่ 5 : ขนมอี๊ (สาคูแดงต้มสุก) 5 ถ้วย

จุดที่ 6 : ผลไม้มงคล และ เจไฉ่ (อาหารเจ เช่น เห็ดหอม เห็ดหูหนู ดอกไม้จีน วุ้นเส้น ฟองเต้าหู้) อย่างละ 5 อย่าง รวมถึงขนมจันอับ 1 จาน

จุดที่ 7 : กระดาษเงินกระดาษทอง

ผลไม้ไหว้ตรุษจีน

การจัดของไหว้

หากจัดใหญ่ นิยมเป็นตัวเลข 5 คือ มีของคาว 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวแซ” ประกอบด้วย หมู ไก่ ตับ ปลา และกุ้งมังกร แต่เนื่องจากกุ้งมังกร นั้นแพงและหาไม่ง่าย จึงนิยมไหว้ “เป็ด” หรือ “ปลาหมึกแห้ง” แทน

ส่วนของหวาน 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวเปี้ย” อาจเป็น ซาลาเปาไส้หวาน ขนมไข่ ขนมถ้วยฟู ขนม กุ่ยช่าย และขนมจันอับ ผลไม้ 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวก้วย” 

หากจัดเล็ก ก็เป็นชุดละ 3 อย่าง  มีของคาว 3 อย่าง เรียกว่า “ซาแซ” ของหวาน 3 อย่าง เรียกว่า “ซาเปี้ย” ผลไม้ 3 อย่าง เรียกว่า “ซาก้วย” หรือจะมีเพียงแค่อย่างเดียวก็ได้

ไหว้ตรุษจีน ใช้ธูปกี่ดอก

1. ไหว้เทพเจ้า รวมถึงเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี้ย : ใช้ธูป 3 ดอก

2. ไหว้บรรพบุรุษ : ใช้ธูป 3 ดอก

3. ไหว้สัมภเวสี ผีไร้ญาติ : ใช้ธูป 1 ดอก

อ่าน : ปักหมุดเที่ยว “ตรุษจีน 2567” ปีนี้ที่ไหน มีไฮไลท์อะไรบ้าง

ผลไม้ที่ใช้ไหว้ตรุษจีน

จะนิยมเลือกชนิดที่มีความหมายเป็นมงคลอยู่ในตัว

  • ส้ม มีความหมายถึงมีความสุข เรียกว่า “ไต้กิก” แปลว่า โชคดี
  • องุ่น เรียกว่า “พู่ท้อ” แปลว่า งอกงาม
  • สับปะรด เรียกว่า “อั้งไล้” มีโชคมาหา
  • กล้วย มีความหมายถึงการมีลูกมีหลานสืบสกุล

ที่ในกระถางธูปที่ใช้ไหว้เจ้า บางคนนิยมใส่ “โหงวจี้” สำหรับปักธูป ประกอบด้วย เมล็ด 5 อย่าง คือ ข้าวสาร ข้าวเหนียว ถั่วเขียว ถั่วดำ และเชื้อแป้ง (ยีสต์) โดยถือว่าเมล็ดทั้ง 5 คือ บ่อเกิดของการเจริญ รุ่งเรืองเติบโต อุปมาอุปไมยให้การไหว้เจ้านี้นำมาซึ่ง ความเจริญรุ่งเรือง

แต่การใช้โหงวจี้ปักธูป มีข้อจำกัดว่าใช้ได้ แต่ในบ้าน ถ้าเป็นการไหว้นอกบ้าน ต้องใช้ข้าวสาร หรือทราย มิฉะนั้นเชื้อแป้งเมื่อถูกความชื้น เช่น ฝน หรือน้ำค้าง จะทำให้แข็งตัวแล้วปักธูปไม่ลง

เมื่อไหว้เจ้าเสร็จก็เผากระดาษเงิน กระดาษทอง เป็นการปิดท้ายรายการ

หลังจากสิ้นสุดวันที่ 9 ก.พ.2567 จะเป็นวันขึ้นปีใหม่ หรือ วันตรุษจีน 2567 ของชาวจีนทั่วโลกรวมถึงคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ก.พ. โดยในวันนี้จะมีการ แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสันสดใส และพากันออกไปท่องเที่ยวกับคนในครอบครัว 

ขอขอบคุณบทความจาก : thaipbs